วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แนวคิดผู้บริหารยุคใหม่

แนวคิดใหม่ของนักวิชาการและนักบริหารคือ ความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การบริหารจะประสบความสำเร็จได้ คนในองค์การต้องร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน การทำงานต้องเป็นทีม(Team) และการบริหารต้องจัดเป็นระบบ (System) ขั้นตอนการทำงานต้องสัมพันธ์กัน กลุ่มนักวิชาแนวคิดนี้จึงได้เสนอ
- ทฤษฎีระบบ (System Theory) 
- ทฤษฎีการบริหารงานตามวัตถุประสงค์ (Management by Objective :MBO)
- ทฤษฎีการพัฒนาองค์การ (Organization Development :OD)
- ทฤษฎีการบริหารงานตามสถานการณ์ (Situational or Contingency approach)
Modern Management มีดังนี้
1) Chester I. Barnard ( 1938) 
Barnard ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior science) เขาเป็นประธานของบริษัท New Jersey Bell ในปี ค.ศ. 1927 เขาใช้ประสบการณ์ในการบริหารงานและการทำงาน ความรู้ทางด้านสังคมวิทยา ปรัชญา สร้างทฤษฎีชีวิตทางด้านองค์การขึ้น
แนวคิดของ Barnard คือ
-องค์การ เป็นโครงสร้างทางสังคม (Social structure) เป็นที่รวมของกายภาพ (เกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต) ชีวภาพ บุคคล และสังคม ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และมีพลวัต (แรงและผลของแรง) 
-การบริหาร จัดการต้องเป็นไปทั้งระบบ (wholes) มากกว่าเป็นส่วนๆ (piece by piece) ดังเช่นนักทฤษฎีสมัยก่อน เขาได้เน้นเรื่องราวทางด้านจิตวิทยาองค์การ ซึ่งนับได้ว่าเป็นทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
-พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior science) เห็นว่า คนคือหัวใจของการผลิต เทคโนโลยี กฎที่ทำงานหรือมาตรฐาน ไม่ได้เป็นหลักประกันผลงานที่ดีเสมอไป แต่ผลงานที่ดีจะมาจากการจูงใจคน
-ระบบ (Sytem) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่ต้องพึ่งพากัน และรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เช่นร่างกาย
-ระบบบริหารจัดการ (Management system) หมายถึงส่วนต่างๆ จำนวนหนึ่งที่สัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ให้สำเร็จตามความต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ความสามารถ และความอ่อนไหว ในความรู้สึกของผู้บริหาร จะช่วยให้พนักงานมีความร่วมมือนำไปสู้ผลผลิตที่สูง และจะต้องบริหารทั้งระบบไม่เพียงแต่มนุษยสัมพันธ์เท่านั้น
-การสื่อสาร (Communication) เป็นส่วนสำคัญขององค์การ เพราะจะเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างความยินดีที่จะรับใช้กับเป้าหมายขององค์การ

1 ความคิดเห็น: